Login

Sign Up

หลังจากสร้างบัญชีแล้วคุณจะสามารถมีส่วนร่วมในเว็บไซต์ของเรา
บัญชีผู้ใช้*
รหัสผ่าน*
ยืนยันรหัสผ่าน*
ชื่อ*
นามสกุล*
Email*
เบอร์โทร*
ประเทศ*
* การสร้างบัญชีหมายความว่าคุณตกลงกับ ข้อกำหนดในการให้บริการ และ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคล ของเรา

เป็นสมาชิกแล้วหรือยัง?

เข้าสู่ระบบ

แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ (สำนักสงฆ์ถ้ำเบื้องแบบ)

(1 รีวิว)
Rating
Rating
ร่วมให้คะแนนแหล่งท่องเที่ยว
4
4 จาก 5 ดาว
คลิกเพื่อโหวต
  • การเดินทาง
    Sending
  • ความสะอาด
    Sending
  • ความสะดวกสบาย
    Sending
  • ความปลอดภัย
    Sending
เพิ่มไปยังรายการโปรด

การเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวลงในรายการโปรดได้ต้องมีบัญชีผู้ใช้!

4545
  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
    1
    Share

ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว

ถ้ำเบื้องแบบ เป็นถ้ำและเพิงผาในภูเขาหินปูนลูกโดด สูงประมาณ 50 เมตร ล้อมรอบด้วยที่ราบซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูก พืชเศรษฐกิจของชุมชน ได้แก่ ยางพารา กล้วย เงาะ สะตอ กาแฟ มันสำปะหลัง มีสำนักสงฆ์และบ้านเรือนราษฎร แหล่งโบราณคดี อยู่ห่างจากคลองมะเลาะ 126.5 เมตร คลองมะเลาะมีต้นน้ำมาจากภูเขาน้ำราด ไหลคดเคี้ยวไปบรรจบกับแม่น้ำพุมดวงแม่น้ำพุมดวง ซึ่งไหลไปรวมกับแม่น้ำตาปีออกไปสู่อ่าวไทยที่แม่น้ำบ้านดอน สุราษฎร์ธานี

โพรงถ้ำและเพิงผาที่พบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ มี 3 ตำแหน่ง คือ ถ้ำบน (ถ้ำเบื้องแบบ 1) เป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ที่สุด จากหลังคาถ้ำมีช่องแสงสูงจากระดับพื้นดินล่าง 12 เมตร ถ้ำล่าง (ถ้ำเบื้องแบบ 2) เป็นเพิงผากึ่งโพรงถ้ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง 1.80 เมตร ถ้ำหลังเขา (ถ้ำเบื้องแบบ 3) เป็นเพิงผา เพดานต่ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง 15 เมตร

จากการศึกษาแหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ กรมศิลปากรทำการสำรวจ ขุดค้นตามโครงการโบราณคดีเขื่อนเชี่ยวหลาน ระหว่าง พ.ศ. 2525 – 2526 พบหลักฐานการอยู่อาศัย 2 ช่วงสมัย จากร่องรอยการทับถมของชั้นดิน และโบราณวัตถุที่พบ คือ ชั้นผิวหน้าดิน พบหลักฐานของสมัยประวัติศาสตร์ (รัตนโกสินทร์) และชั้นร่องรอยหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ (ไม่ครบส่วน) กระดูกและฟันสัตว์ มีทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีก เปลือกหอยชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หอยบก หอยน้ำจืด หอยทะเล ชิ้นส่วนก้ามปู เมล็ดพืชป่าบางชนิด เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบมีรูปทรงต่าง ๆ กัน คือ หม้อก้นกลมแบบหม้อดินหุงข้าว หม้อสามขา หม้อมีสันภาชนะรูปจอกปากผาย แท่นพิงถ้วยรูปเขาสัตว์ แท่นรองหม้อ ลูกกระสุนดินเผา สำหรับเครื่องมือหิน พบเครื่องมือหินกะเทาะขนาดและรูปทรงต่าง ๆ กัน เช่น เครื่องมือแกนหิน เครื่องมือลักษณะใบมีด ค้อน ทั่ง หินลับเครื่องมือขวานหินขัด สิ่วหินขัด หินทุบเปลือกไม้ กำไลหิน และเศษถ่าน

ถ้ำเบื้องแบบมีสภาพเหมาะสมต่อการใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งรู้จักนำหินมากะเทาะและขัดแต่งเป็นเครื่องมือ โดยใช้เครื่องมือหินกะเทาะและเครื่องมือหินขัดควบคู่กันไป รู้จักทำภาชนะดินเผาเพื่อหุงหาอาหารและใส่อาหาร ภาชนะมีลักษณะและรูปร่างที่เหมาะกับประโยชน์ใช้สอย รู้จักทำผ้าขึ้นใช้เองโดยทำจากเปลือกไม้ ยังไม่พบหลักฐานการเกษตรกรรม จึงน่าจะดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ ตามสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย รู้จักการขัดแต่งหินเป็นเครื่องมือประดับ อาจมีประเพณีการฝังศพเฉพาะส่วนหรือการฝังครั้งที่ 2 มีการติดต่อกับชุมชนใกล้ฝั่งทะเล อายุสมัย กำหนดอายุจากตัวอย่างถ่าน กระดูกสัตว์ และกระดูกมนุษย์ ด้วยวิธีเรดิโอคาร์บอนโดยกองเคมีสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กรุงเทพมหานคร กำหนดอายุประมาณ 4,750 + 210 ถึง 6,510+ 360 ปี (กรมศิลปากร 2531 : 91 – 93)

สถานที่ตั้ง

Location

แหล่งต้นน้ำบ้านน้ำราด หมู่ 3 ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Google Map)

การเดินทาง

Departure

ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 มุ่งหน้ามายังอำเภอคีรีรัฐนิคม ประมาณ 70 กิโลเมตร พอถึงแยกอำเภอคีรีรัฐนิคม ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตำบลบ้านทำเนียบ ประมาณ 4.5 กิโลเมตร เพื่อเข้าสู่สำนักสงฆ์ถ้ำเบื้องแบบ

เวลาทำการ

Office Hours
ทุกวัน - Daily08.00 - 17.00 น.

ข้อมูลการติดต่อ

Contact information

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทำเนียบ
โทร.  0 7795 3121, 0 7795 3122
โทรสาร. 0 7795 3121 กด 19

แผนที่
นักท่องเที่ยว 1 คน กำลังเข้าชม แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ (สำนักสงฆ์ถ้ำเบื้องแบบ)!