Login

Sign Up

หลังจากสร้างบัญชีแล้วคุณจะสามารถมีส่วนร่วมในเว็บไซต์ของเรา
บัญชีผู้ใช้*
รหัสผ่าน*
ยืนยันรหัสผ่าน*
ชื่อ*
นามสกุล*
Email*
เบอร์โทร*
ประเทศ*
* การสร้างบัญชีหมายความว่าคุณตกลงกับ ข้อกำหนดในการให้บริการ และ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคล ของเรา

เป็นสมาชิกแล้วหรือยัง?

เข้าสู่ระบบ

เมืองโบราณเวียงสระ (วัดเวียงสระ)

0
Rating
Rating
ร่วมให้คะแนนแหล่งท่องเที่ยว
4.6
4.6 จาก 5 ดาว
คลิกเพื่อโหวต
  • การเดินทาง
    Sending
  • ความสะอาด
    Sending
  • ความสะดวกสบาย
    Sending
  • ความปลอดภัย
    Sending
เพิ่มไปยังรายการโปรด

การเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวลงในรายการโปรดได้ต้องมีบัญชีผู้ใช้!

14025

ข่าวสารล่าสุด

New VDO in terrific moment during covid situation@Koh Samui Thailand
16 พฤษภาคม 2020
Can’t wait for you to come over here@samui after loosen of covid-19
16 พฤษภาคม 2020
Samui Virtual VDO with how to get there and magnificent meet natural beauty
16 พฤษภาคม 2020

แหล่งท่องเที่ยวล่าสุด

  • 38
  •  
  •  
  •  
  •  
    38
    Shares

ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว

วัดเวียงสระ มีเนื้อที่ทั้งหมด 281 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรสาขาที่ 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จดทะเบียนไว้แล้วเมื่อเดือน มกราคม 2527 เชื่อกันว่า เป็นวัดสร้างใหม่หลังจากการสร้างเมืองเวียงสระ เดิมเป็นวัดร้าง ตั้งติดกับคูเมืองเวียงสระโบราณ ภายในวัดมีสระน้ำวิหารอุโบสถ และกุฏิสงฆ์ ในสระน้ำ เมืองเวียงสระ เป็นเมืองที่มี ชื่อเสียงและมีความสำคัญทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 -16 มีอาณาจักรแห่งหนึ่งมีอำนาจและมีอิทธิพลมากครอบคลุมจากชุมพรไปถึงชวา เรียกอาณาจักรนี้ว่าอาณจักรศรีวิชัย ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองไชยา รวมทั้งเมืองเวียงสระด้วย

แต่นักประวัติศาสตร์บางคน กล่าวว่าศูนย์กลางของการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา แต่ก็ยังไม่ยุติจนกระทั่งบัดนี้ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ได้มีพราหมณ์ 2 คนพร้อมด้วยอาจารย์อีก 2 ท่าน กับ สมัครพรรคพวกอีกประมาณ 30,000 คน ได้ล่องเรือลงมาทางใต้ ได้ขึ้นบกที่เมืองตะโกลา (เมืองตะกั่วป่า ปัจจุบัน) และล่องลงมาตามลำน้ำตะกั่วป่า มาตั้งเมืองที่บ้านน้ำรอบบริเวณ ริมคลองพุมดวง ได้ตั้งชื่อเมืองว่า ระวะตี (บางท่านว่า ชื่อ ทวาราวดี) เนื่องจากเกิดไข้ห่าระบาดจึงอยู่ได้ไม่นาน ก็ได้อพยพมาตั้งเมืองที่ เมือง เวียงสระ ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำ และได้ขุดคูเป็นปราการรอบเมือง เพื่อให้น้ำเข้ามาได้เมืองเวียงสระสมัยนั้นเจริญมาก มีการติดต่อค้าขายกับชาวจีนทางเรือ เมื่อ พ.ศ. 2527 กรมศิลปากร ได้ขุดพบเหรียญตราและของใช้ของจีนสมัยราชวงศ์เหม็ง และสมันนั้นตามประวัติ กล่าวว่าอาณาจักรศรีวิชัย กำลังเจริญรุ่งเรืองที่สุด จึงน่าสันนิษฐานได้ว่าเมืองเวียงสระ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย

เชื่อกันว่าเมืองเวียงสระมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 7
มีการติดต่อส่งทูตไปยังราชสำนักจีนในสมัยราชวงศ์เหลียง เมื่อราว พ.ศ.967

จดหมายเหตุจีน

เมืองโบราณเวียงสระ เป็นเมืองและแหล่งชุมชนโบราณแห่งหนึ่งทางภาคใต้ เชื่อกันว่าเมืองเวียงสระมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 7 จดหมายเหตุจีน กล่าวถึงเมืองพัน – พัน ว่าได้มีการติดต่อส่งทูตไปยังราชสำนักจีนในสมัยราชวงศ์เหลียง เมื่อราว พ.ศ.967  เมืองเวียงสระเจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน แต่ช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีหลักฐานการจารึกที่แน่ชัดว่ามีกษัตริย์ปกครองบ้านเมืองสืบต่อกันมาอย่างไร แต่มีหลักฐานทางโบราณวัตถุที่พอจะยืนยันได้แน่ชัดว่า เมืองนี้ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาจากอินเดียแน่นอน และเชื่อกันว่าการล่มสลายของเมืองเวียงสระน่าจะเนื่องมาจากการเกิดไข้ห่าระบาด บริเวณเมืองเวียงสระได้พบหลักฐานทางด้านโบราณคดีมากมาย ซึ่งมีตั้งแต่เครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์และยุคต่อเนื่อง เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อันนี้เองทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าชุมชนโบราณเวียงสระนั้นได้มีการพัฒนาการต่อเนื่องเรื่อยมา ทั้งเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่และมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีค่อนข้างสูง หลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุในอดีตมีอายุมากกว่า 1000 ปี มีดังนี้ เครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พระพุทธรูป หินทรายแดงนูนสูง เทวรูปพระวิษณุหรือพระนารายณ์สวมหมวกทรงกระบอกทำด้วยศิลา พระวิษณุหรือพระนารายณ์ 4 กร พระ-วฑุกะไภลพ ซึ่งเป็นบริเวณเมืองเวียงสระและบริเวณรายรอบนั้นก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเจริญรุ่งเรืองในด้านความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาลัทธิมหายานได้เป็นอย่างดี

ลักษณะของคูเมืองได้รับการขุดเชื่อมต่อกันของคลองตาล กับแม่น้ำตาปี นับเป็นการพัฒนาการทาง ด้านการสร้างเมือง โดยการใช้คูคลองธรรมชาติเป็นคูเมือง จึงทำให้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีตั้งข้อสังเกตว่า บริเวณเมืองเวียงสระนั้นเป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่มากที่สุดเมืองหนึ่งบนคาบสมุทรมาลายู เป็นเครื่องชี้ถึงแหล่งอารยธรรมอินเดียที่มีในดิน-แดนนี้ ซึ่งมีต่อเนื่องกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่15-16 อาจเป็นแหล่งที่ชาวอินเดียเข้ามาตั้งเป็นชุมชนเมื่อครั้งที่เคยใช้เส้นทางผ่านข้ามคาบสมุทรจากทะเลอันดามันไปยังอ่าวไทยตาม เส้นทางจากตะกั่วป่าเมืองเวียงสระไปออกอ่าวบ้านดอน

สถานที่ตั้ง

Location

เมืองโบราณเวียงสระ (วัดเวียงสระ) หมู่ 7 ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Google Map)

การเดินทาง

Departure

ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 41 สุราษฎร์ธานี – นครศรีธรรมราช ยูเทิร์นเข้าถนนหมายเลข 4009 เพื่อมุ่งหน้าอำเภอเวียงสระ และเลี้ยวซ้ายเข้าซอยถนนวิภาวดีรังสิต 47 ประมาณ 6.8 กิโลเมตร เพื่อเข้าสู่เมืองโบราณเวียงสระ (วัดเวียงสระ)

เวลาทำการ

Office Hours
ทุกวัน - Daily09.00 - 15.30 น.

ข้อมูลการติดต่อ

Contact information

เทศบาลตำบลเมืองเวียง
โทร. 0 7736 3124
โทรสาร. 0 7736 4097

แผนที่
นักท่องเที่ยว 3 คน กำลังเข้าชม เมืองโบราณเวียงสระ (วัดเวียงสระ)!