Login

Sign Up

หลังจากสร้างบัญชีแล้วคุณจะสามารถมีส่วนร่วมในเว็บไซต์ของเรา
บัญชีผู้ใช้*
รหัสผ่าน*
ยืนยันรหัสผ่าน*
ชื่อ*
นามสกุล*
Email*
เบอร์โทร*
ประเทศ*
* การสร้างบัญชีหมายความว่าคุณตกลงกับ ข้อกำหนดในการให้บริการ และ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคล ของเรา

เป็นสมาชิกแล้วหรือยัง?

เข้าสู่ระบบ

สะพานจุลจอมเกล้า

0
Rating
Rating
ร่วมให้คะแนนแหล่งท่องเที่ยว
4.8
4.8 จาก 5 ดาว
คลิกเพื่อโหวต
  • การเดินทาง
    Sending
  • ความสะอาด
    Sending
  • ความสะดวกสบาย
    Sending
  • ความปลอดภัย
    Sending
เพิ่มไปยังรายการโปรด

การเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวลงในรายการโปรดได้ต้องมีบัญชีผู้ใช้!

8111

ข่าวสารล่าสุด

New VDO in terrific moment during covid situation@Koh Samui Thailand
16 พฤษภาคม 2020
Can’t wait for you to come over here@samui after loosen of covid-19
16 พฤษภาคม 2020
Samui Virtual VDO with how to get there and magnificent meet natural beauty
16 พฤษภาคม 2020

แหล่งท่องเที่ยวล่าสุด

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว

สะพานพระจุลจอมเกล้า หรือ สะพานสุราษฎร์ธานี เป็นสะพานสำคัญที่สุดในเส้นทางสายใต้ เป็นสะพานที่สร้างข้ามแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยสะพานเหล็ก 3 ช่วง รวมความยาวของสะพานทั้งสิ้น 200 เมตร เปิดการเดินรถได้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2496 เป็นสะพานรถไฟและรถยนต์ ภายหลังสร้างสะพานรถยนต์ขึ้นใหม่จึงใช้งานเป็นสะพานรถไฟเต็มรูปแบบ

การก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ในปี พ.ศ. 2449 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ส่งมิสเตอร์กิตตินส์ วิศวกรชาวอังกฤษเลขานุการกรมรถไฟหลวง กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และพระยาวจีสัตยารักษ์ เจ้าเมืองไชยา ออกสำรวจเส้นทางรถไฟสายใต้ ซึ่งต้องกู้เงินจากรัฐบาลสหพันธรัฐมลายูของอังกฤษ โดยมีมิสเตอร์กิตตินส์ เป็นผู้อำนวยการสร้างทางรถไฟสายใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453 ช่วงการก่อสร้างจากชุมพรไปยังนครศรีธรรมราชต้องผ่านลำน้ำสายใหญ่ที่ตำบลท่าข้าม เมืองไชยา คือแม่น้ำหลวง การก่อสร้างสะพานเหล็กรูปทรงโค้ง แบ่งเป็นสามช่วง ใช้สำหรับให้รถไฟแล่นผ่านอย่างเดียว ต้องใช้งบประมาณ 149,365 บาท แต่ถ้าจะทำทางคนเดินต้องเพิ่มงบประมาณอีก 13,000 บาท และถ้าจะให้สมบูรณ์มีทางเกวียนข้ามได้ด้วย ต้องเพิ่มงบประมาณอีก 148,610 ซึ่งราคาสูงเกือบเท่าตัวสะพาน ในขณะนั้นที่ตำบลท่าข้าม เมืองไชยา ยังไม่ค่อยมีเกวียนใช้มาก ผู้คนก็ไม่มาก จึงขอพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ 5 ให้งดการสร้างทางเกวียน ดังนั้นสะพานข้ามแม่น้ำหลวงจึงมีแต่ทางรถไฟกับคนเดินเท่านั้น

พ.ศ. 2484 ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่สุราษฎร์ธานี เชิงสะพานข้ามแม่น้ำตาปี เป็นจุดตั้งฐานทัพทหารญี่ปุ่น และเป็นจุดยุทธศาสตร์ลำเลียงพลไปสู่มลายู เพื่อเดินทางไปพม่า และสิงคโปร์ พ.ศ. 2486 ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้ใช้เครื่องบิน บี 24 บรรทุกระเบิดมาทำลายสะพานแห่งนี้ถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกไม่สามารถทำลายลงได้ ครั้งที่สอง จึงใช้โซ่ผูกร้อยระเบิดเป็นพวงทิ้งทำลายจนสะพานหักลงกลางลำน้ำตาปี เมื่อปี พ.ศ. 2486 นอกจากนี้ ได้ระเบิดทำลายบ้านเรือนในตลาดท่าข้ามอีกด้วย

หลังสงครามสงบ รัฐบาลได้ว่าจ้างบริษัท CORMANLONG CO.LTD ประเทศอังกฤษมาทำการซ่อมแซม เปลี่ยนรูปทรงจากทรงเหล็กโค้ง เป็นแท่งเหลี่ยม ลักษณะรูปทรงเดียวกับสะพานพระรามที่ 6 แบ่งออกเป็น 3 ช่วง มีทางรถไฟ ทางคนเดิน และช่องกลางเว้นไว้สำหรับผิวการจราจร ใช้เวลาซ่อมสร้างประมาณ 6 ปี จึงแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พระราชทานนามให้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2494 ว่า “สะพานจุลจอมเกล้า” และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2496

สะพานจุลจอมเกล้าข้ามแม่น้ำตาปี ในทางหลวง 4153 ตอนแยกทางหลวง หมายเลข 41 (บ.หนองขรี) อ.พุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีสะพานเดิมก่อสร้าง เป็นสะพานโครงเหล็ก 3 ช่องจราจรเป็นทางรถไฟ 1 ช่องจราจรกว้าง 1 เมตร และทางรถยนต์ 2 ช่องจราจรกว้างช่องละ 3 เมตรความยาวสะพานแบ่งตาม ตอม่อเป็น 3 ช่วงคือ (80+60+60 เมตร ) รวมความยาวสะพาน 200 เมตร สะพานแห่งนี้ เปิดการจราจรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2459 และในปี พ.ศ. 2468 ตัวสะพานโครงเหล็กถูกระเบิดพังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

ต่อมาได้มีการบูรณะ สะพานใหม่โดยใช้ฐานรากตอม่อเดิมและเปิดใช้การจราจร อีกครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 จนถึงปัจจุบัน ทำให้สะพานนี้มีอายุการใช้งานมา นานกว่า 50 ปี ตัวสะพานจึงมีสภาพชำรุดจนต้องจำกัดน้ำหนักยวดยานที่วิ่งผ่าน สะพานโดยห้ามรถบรรทุก 10 ล้อวิ่งผ่านประกอบกับสะพานเดิมแคบมีโค้งอันตราย และมีปริมาณจราจรเพิ่มมากขึ้นตามความเจริญเติบโตของบ้านเมือง ทำให้สะพานเดิมไม่ สามารถรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งขณะนั้นเป็นประธานกรรมาธิการคมนาคม พิจารณาเห็นว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อน จากการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นทางสายนี้เป็นประตูเข้า-ออกตัวเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้เสนอกระทรวง คมนาคมให้กรม ทางหลวงดำเนินการก่อสร้างทางหลวงสายนี้ พร้อมทั้งก่อสร้าง สะพานจุลจอมเกล้าใหม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสะพาน สำหรับให้ยวดยานพาหนะต่าง ๆ รวมทั้งรถบรรทุก 10 ล้อสามารถใช้การจราจรได้รวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย เพื่อ เป็นการทดแทนสะพานจุลจอมเกล้าเดิม ซึ่งจะใช้เป็นเส้นทาง สำหรับทางรถไฟ แต่เพียงอย่างเดียวต่อไป และเมื่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้แร่งรัด กรมทางหลวงให้เร่งดำเนินการก่อสร้างทาง หลวงหมายเลข 4153 ตอน แยกทางหลวงหมายเลข 41 (บ.หนองขรี) อ. พุนพิน ซึ่งประกอบด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำตาปีแห่งใหม่ สะพานข้ามทางรถไฟ สายใต้ และก่อสร้างทางหลวงที่เป็นโครงข่ายเชื่อมต่อกับ สะพานทั้ง 2 แห่งเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนของประชาชนในการใช้เส้นทางดังกล่าว และ ได้มีพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2543

สถานที่ตั้ง

Location

สะพานจุลจอมเกล้า ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Google Map)

การเดินทาง

Departure

ใช้ทางหลวงหมายเลข 41  เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4153 มุ่งหน้าประมาณ 7 กิโลเมตร เข้าสู่สะพานจุลจอมเกล้า

เวลาทำการ

Office Hours
ทุกวัน - Daily

ข้อมูลการติดต่อ

Contact information

เทศบาลเมืองท่าข้าม
โทร.  0-7731-1074
โทรสาร. –

แผนที่
นักท่องเที่ยว 2 คน กำลังเข้าชม สะพานจุลจอมเกล้า!